วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์
1.กำหนดสิ่งที่โจทย์ต้องการ
2.กำหนดรูปแบบของผลลัพธ์
3.กำหนดข้อมูลนำเข้า
4.กำหนดตัวแปร
5.ขั้นตอนการประมวลผล

Example.  ให้นักศึกษารับค่าตัวเลข 3 จำนวน และหาค่าเฉลี่ยของเลขทั้ง 3 จำนวนนั้นแสดงออกทางจอภาพ

1.สิ่งที่โจทย์ต้องการ
   ค่าเฉลี่ยของเลขทั้ง 3 จำนวน
2.รูปแบบผลลัพธ์
   00.00
3.ข้อมูลนำเข้า
   n1,n2,n3
4.กำหนดตัวแปร
   n1,n2,n3 : integer
   sum_n : real
5.ขั้นตอนการประมวลผล
   5.1 เริ่ม
   5.2 n1,n2,n3 : integer
         sum_n : real
         sum_n = 0
   5.3 sum_n = (n1+n2+n3)/3
   5.4 print sum_n

5.5 end


วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คุณสมบัติของอัลกอริทึม

อัลกอริทึมประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้

  1. เป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นด้วยกฎเกณฑ์
  2. กฎเกณฑ์ที่สร้างอัลกอริทึมต้องไม่คลุมเครือ
  3. การประมวลผลต้องเป็นขั้นตอน
  4. ต้องได้ผลลัพธ์ตามที่กำหนด
  5. ต้องมีจุดสิ้นสุด
การเขียนผังงานสามารถแยกกลุ่มสัญลักษณ์ได้ 3 กลุ่ม

  1. สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
  2. สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
  3. สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols)

















วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อัลกอริทึม

"โดยปกติในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาเชิงอัลกอลิทึมเป็นกิจวัตรอยู่แล้ว"

อัลกอลิทึม  หมายถึง  กลุ่มของขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์ที่จะนำพาไปสู่การแก้ปัญหาได้
อัลกอลิทึม  หมายถึง  ขั้นตอนวิธี ที่อธิบายว่างานนั้นๆ ทำอย่างไร ซึ่งประกอบด้วยลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนและรับประกันว่าเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนจนจบ จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามต้องการ

วิธีการสร้างอัลกอริทึม
1.การบรรยาย (Narrative Description)
2.การเขียนผังงาน (Flowchart)
3.การเขียนซูโด้โค้ด (Pseudo Code)

การบรรยาย (Narrative Description)
เป็นวิธีที่ง่ายใช้บรรยายเป็นตัวอักษร ง่ายต่อผู้เขียนแต่ค่อนข้างยากสำหรับนำไปปฏิบัติ

การเขียนผังงาน (Flowchart)
เป็นการนำเสนอในรูปแบบของแผนภาพ ซึ่งเป็นสัญลักษณืต่างๆที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ทำให้แสดงรายละเอียดของขั้นตอนได้อย่างชัดเจนนอกจากนี้ผังงานยังแบ่งออกเป็นผังงานระบบและผังงานโปรแกรม

  • ผังงานระบบ (System Flowchart) เป็นผังงานที่แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานหลักๆ โดยจะแสดงแค่ตัวหลักที่ต้องทำในระบบ
  • ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) เป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนของกิจกรรมต่างๆ โดยละเอียด สามารถถ่ายทอดความเข้าใจหรือสื่อสารระหว่างกันได้ค่อนข้างชัดเจน

การเขียนซูโดโค้ด (Pseudo Code)
เป็นรหัสคำสั่งไม่ใช่ชุดภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อจำลองคำสั่งโปรแกรมอย่างย่อๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างการควบคุมของภาษาคอมพิวเตอร์นั้นต่อไป

"รูปแบบการเขียนซูโดโค้ดที่นำไปประยุกฃต์เพื่อการเขียนโปรแกรม"

  • การกำหนดค่า และการคำนวณ
  • การอ่าน การรับข้อมูล ใช้คำสั่ง read,input หรืออื่นๆตามความเหมาะสม
  • การแสดงผลข้อมูล ส่วนมากจะใช้ Print
  • การกำหนดเงื่อนไข รูปแบบ If.....then
  • คำสั่งทำงานเป็นรอบ หรือวนซ้ำ มีอยู่หลายคำสั่งเช่น While....endwhile,do....until,for...next